วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

น้องอินท์ แชมป์เล่านิทาน อายุ 4-6 ปี

สวดมนต์ทำนองสรภัญญะ

สื่อการสอนคณิตศาสตร์

บุคลากรฝ่ายบริหารทั่วไป

บุคลากรฝ่ายแผนและงบประมาณ

บุคลากร

 บุคลากรโรงเรียนบ้านกราม  ต.ไพร อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ








โครงสร้างการบริหาร

ยุทธศาสตร์โรงเรียน (3 ก้าว + 1)

ยุทธศาสตร์ที่ 1   ก้าวหน้าคุณธรรม
ยุทธศาสตร์ที่ 2   ก้าวนำสิ่งแวดล้อม 
        ยุทธศาสตร์ที่ 3   ก้าวพร้อมวิชาการ
ยุทธศาสตร์ที่ 4   บริหารร่วมใจ

กลยุทธ์

กลยุทธ์ที่ 1   
            พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับตามหลักสูตร และส่งเสริมความสามารถด้านเทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
กลยุทธ์ที่ 2   
            ปลูกฝังคุณธรรม ความสำนึกในความเป็นชาติไทย และวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
กลยุทธ์ที่  
             ขยายโอกาสทางการศึกษาให้ทั่วถึง  ครอบคลุม  ผู้เรียนได้รับโอกาสในการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ
กลยุทธ์ที่ 4   
            พัฒนาบุคลากรสู่มาตรฐานและเป็นมืออาชีพ
กลยุทธ์ที่ 5   
            พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา  ตามแนวทางการกระจายอำนาจทางการศึกษาหลักธรรมาภิบาล  เน้นการมีส่วนร่วมและความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อ ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา

สีประจำโรงเรียน

แดง-เหลือง     
สีแดงหมายถึง: ความเข้มแข็ง , มีภาวะความเป็นผู้นำ
สีเหลืองหมายถึง: มีความฉลาด ร่วมมือกับหมู่คณะ และมองโลกในแง่ดี,

ปรัชญาของโรงเรียน


คุณธรรมนำความรู้   ควบคู่ศิลปะ
เน้นทักษะภาษาไทย     เก่ง ใช้เทคโนโลยี 

จุดเน้นการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ของโรงเรียน

1.  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ทุกคนอ่านออกเขียนได้ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6ทุกคน  อ่านคล่อง เขียนคล่อง คิดเป็น
2.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกชั้น ทุกกลุ่มสาระวิชาเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 โดยเน้น 5 กลุ่มสาระหลักเป็นพิเศษ (ภาษาไทย  คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์  สังคมศึกษาฯ  และภาษาอังกฤษ)และใช้ภาษาไทยได้อย่างคล่องแคล่วในการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระ ยกเว้นภาษาประเทศ                                                   
3.  เพิ่มศักยภาพนักเรียนทุกคนในด้านภาษา (ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ)คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์  การงานอาชีพและทคโนโลยี                               
4.  นักเรียนทุกคนมีคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร  
5.  สร้างทางเลือกในการเรียนรู้อย่างหลากหลายและผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง              
6.  จัดหา  สร้างและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน ให้ครอบคลุมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
7.  ส่งเสริมให้นักเรียนเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง                    
8.  โรงเรียนมีระบบประกันคุณภาพภายในที่เข้มแข็ง







จุดเน้นสพฐ. ปี 2555

1.  ผลสัมฤทธิ์วิชาหลักเพิ่มขึ้น  ร้อยละ 3
2.  เตรียมความพร้อมด้านร่างกาย  อารมณ์  สังคมและสติปัญญา  ตามหลักสูตรปฐมวัย                                  อย่างมีคุณภาพ
3.  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ทุกคน  อ่านออกและเขียนได้คิดเลขเป็น   นักเรียน                              ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อ่านคล่องเขียนคล่องและมีทักษะการคิดขั้นพื้นฐาน
4.  นักเรียนทุกคนมีความสำนึกในความเป็นไทย  มีจิตสาธารณะ  อยู่อย่างพอเพียง
5.  เพิ่มศักยภาพนักเรียนด้านคณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์  เทคโนโลยีและศิลปะศาสตร์
6.  สร้างทางเลือกในการเรียนรู้  ที่เน้นให้ประชากรวัยเรียนทุกคนเข้าถึงโอกาสทาง
การศึกษาอย่างทั่วถึง  ลดอัตราการออกกลางคัน  ศึกษาต่อและประกอบอาชีพ
7.  นักเรียน ครูชายแดนภาคใต้ ..................
8.  นักเรียน  ครู  ผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษา  ได้รับการพัฒนาและเตรียม
ความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน  มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงและสังคมพหุวัฒนธรรม
9.  สถานศึกษาทุกแห่งมีระบบประกันคุณภาพภายในที่เข้มแข็งและได้รับการรับรองจาก สมศ.
10.              สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  ผ่านการประเมินคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน
          ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

วิสัยทัศน์

ภายในปี 2555  โรงเรียนบ้านกราม มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้มีคุณธรรมนำความรู้ ควบคู่ศิลปะ เน้นทักษะภาษาไทย   สามารถใช้เทคโนโลยี   มีความรักท้องถิ่นบนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

โอกาสและข้อจำกัดของโรงเรียน

โรงเรียนอยู่ใกล้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน ได้แก่ วัด สำนักสงฆ์ องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ สถานีตำรวจ  โรงงานทำแป้งและเส้นขนมจีน  แหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตร 
        โรงเรียนได้รับการส่งเสริมสนับสนุนงบประมาณจากชุมชน ผู้นำชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น น้อยมาก  ส่วนด้านการระดมแรงงานมาพัฒนาโรงเรียน ได้รับความร่วมมือ จากชุมชน ผู้นำชุมชนเป็นอย่างดี

สภาพชุมชน

สภาพชุมชนรอบบริเวณโรงเรียนมีลักษณะเป็นที่อยู่อาศัย  บริเวณรอบนอกโรงเรียนเป็นพื้นที่ทางการเกษตร  ได้แก่  สวนยางพารา  สวนมะม่วง  ไร่มันสำปะหลัง  ทุ่งนา  อาชีพหลักของชุมชนคือเกษตรกรรม  เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา  และมีฐานะยากจน  ฐานะทางเศรษฐกิจ/รายได้โดยเฉลี่ยต่อปี  18,000 บาท      ประเพณี ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปคือ  ประเพณีการเล่นแม่มด  แซนโดนตา  แห่เทียนเข้าพรรษา  ประเพณีออกพรรษา  วันสาร์ท  เป็นต้น
                        -  ผู้ปกครองส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา
                        -  ผู้ปกครองส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา 
                        -  ผู้ปกครองส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
                      -  ข้อจำกัดของโรงเรียน  ผู้ปกครองมีการศึกษาน้อย  มีฐานะยากจน  ทำให้ไม่สามารถช่วยเหลือและสนับสนุนการจัดการศึกษาได้เท่าที่ควร   
                สถานศึกษาได้รับความร่วมมือจากทางชุมชนในหลายด้าน  เช่น  ด้านการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนทางโรงเรียนก็ได้รับความอนุเคราะห์จากทางชุมชนได้ร่วมกันจัดผ้าป่าสามัคคีเพื่อการศึกษา โดยนำเงินที่ได้มาจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้กับทางโรงเรียนเพื่อใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน  และปรับปรุงห้องสมุด  ตลอดจนการร่วมมือในกิจกรรมต่างๆที่ทางโรงเรียนจัดขึ้น  เช่น  งานกีฬา  งานวันสำคัญต่างๆ  งานประเพณีในท้องถิ่น เป็นต้น 

ผู้บริหารจากอดีต-ปัจจุบัน

           1.  นายเที่ยง   ขุนศรี            พ.ศ.2464-2468
            2.  นายแทน   โกทา            พ.ศ.2468-2472
            3.  นายแสง    ถนอมศิลป์     พ.ศ.2472-2575
            4.  นายสง     บุตรอุดม         พ.ศ.2475-2514
            5.  นายเฉลิมชัย  ดวงแก้ว      พ.ศ.2514-2542
            6.  นายธวัชชัย    บุญน้อย      พ.ศ.2542-2543    (รักษาการ)
            7.  นายสุทิน   อินพานิช          พ.ศ.2543-2548
            8.  นายสด      ไพรบึง             พ.ศ.2548-2554
             9.    นายบัญญัติ  ประสงค์ทรัพย์   พ.ศ. 2554-ปัจจุบัน

ประวัติโรงเรียน


                โรงเรียนบ้านกรามตั้งขึ้นเมื่อวันที่  23  สิงหาคม  พุทธศักราช  2464  เริ่มแรกใช้ชื่อว่าโรงเรียนตำบลไพร  อำเภอกันทรลักษณ์  จังหวัดศรีสะเกษ  ตั้งโดยขุนชิตสารการ  นายอำเภอกันทรลักษณ์ดำเนินงานโรงเรียนด้วยเงินกองการศึกษาพลี  เปิดสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-4  มีขุนแพรงบ้านไพรเป็นผู้อุปการะ  ต่อมาได้ย้ายจากวัดบ้านไพร หมู่ 1  มาตั้งที่วัดบ้านกราม  เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม  2501  มีพื้นที่ 16 ไร่ 2 งาน